วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

นวัตกรรมการศึกษา

ชื่อนวัตกรรม ท้องฟ้าจำลองและแผนที่ดาว

ชื่อผู้พัฒนานวัตกรรม นางมยุรี ฐานมั่น ตำแหน่งครู

ที่มาและวัตถุประสงค์ของนวัตกรรม
ท้องฟ้าจำลองเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ เป็นนวัตกรรมที่มีลักษณะเป็นห้องเรียนเสมือนจริง โดยศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 และหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ในการกำหนดขอบเขตเนื้อหาที่จะใช้พัฒนานวัตกรรม โดยภายในห้องจะมีแหล่งเรียนรู้ทางดาราศาสตร์มากมาย อาทิเช่น แผนที่ดาว ระบบสุริยะ โปรแกรม Starry night เป็นต้น ซึ่งผู้สอนคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษานี้จะสร้างแนวความคิดใหม่ให้นักเรียนมองและเห็นสภาพความเป็นจริงจากสถานการณ์จำลองเหมือนของจริง โดยไม่ต้องรอเหตุการณ์จริงให้เกิดขึ้น เหมือนกับนักบินที่ฝึกบินกับสถานการณ์จำลอง ท้องฟ้าจำลองก็สามารถสร้างสถานการณ์ต่างๆได้หลายอย่างเช่นการดูดาวหรือศึกษากลุ่มดาวได้ทุกเวลาตามสถานการณ์ที่ผู้สอนสร้างขึ้นทั้งใช้เทคโนโลยีจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือใช้แผนที่ดาวที่สร้างขึ้นเองตามสภาพจริงในการมองเห็นท้องฟ้าจริงทั่วๆไปตามวัน เวลาจริงของดวงดาวบนท้องฟ้า ห้องท้องฟ้าจำลองนี้จะช่วยพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรม
ในการพัฒนานวัตกรรมในครั้งนี้ ผู้จัดทำได้ศึกษากระบวนการพัฒนานวัตกรรมจากเอกสารต่างๆและนำมาสังเคราะห์เป็นขั้นตอนในการพัฒนานวัตกรรม ซึ่งมี 4 ขั้นตอนคือ
1.การสร้างนวัตกรรม
2.การตรวจสอบคุณภาพนวัตกรรม
3.การทดลองใช้
4.การปรับปรุง

ลักษณะของนวัตกรรม
สื่อ/แหล่งเรียนรู้ในห้องท้องฟ้าจำลอง
ผนังห้องด้านหน้า : แหล่งเรียนรู้เรื่องกาลิเลโอ และพระมหากษัตริย์ไทยกับดาราศาสตร์ ผนวกกับฉากรับ การฉายภาพ และไวท์บอร์ดประกอบการบรรยาย
ผนังห้องด้านหลัง : แผนภาพจำลองระบบสุริยะขนาด 3 ม.x6 ม.
เพดานห้อง : แผนที่ดาวจำลองขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เมตร
แผนที่ดาวมือถือ/แผนที่ดาวไฮเทค
กล้องโทรทัศน์
แหล่งเรียนรู้อื่นๆ
- มุมความรู้ทางดาราศาสตร์
- วีซีดี วีดีทัศน์ สารคดี ตลอดจนภาพยนตร์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับดาราศาสตร์และอวกาศ
- คอมพิวเตอร์สืบค้นข้อมูล มีอินเตอร์เน็ต

ผลการนำไปทดลองใช้
การพัฒนานวัตกรรมได้ดำเนินการเสร็จสิ้น มีการเผยแพร่และสร้างเครือข่าย นวัตกรรมทางการศึกษาห้องท้องฟ้าจำลอง เป็นนวัตกรรมที่ได้รับความสนใจของประชาชน นักเรียน และฝ่ายต่างๆในชุมชนเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งผู้สอนได้จัดให้มีการเผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมในครั้งนี้ให้กับผู้ที่สนใจเพื่อเป็นแนวทางให้นำไปพัฒนานวัตกรรมอื่นๆต่อไป

ข้อดีของนวัตกรรม
1.เป็นการแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียนได้ตรงตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
2.มีการประยุกต์ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในการพัฒนานวัตกรรมได้เหมาะสม คุ้มค่า
3.กระบวนการพัฒนานวัตกรรมก่อให้เกิดประสบการณ์และการเรียนรู้ร่วมกันทั้งโรงเรียน
4.เป็นนวัตกรรมที่ใช้ง่าย สะดวกและมีขั้นตอนการใช้ไม่ซับซ้อน

ข้อจำกัดของนวัตกรรม
1.ใช้งบประมาณจำนวนมาก
2.ขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ

ข้อเสนอแนะ
ควรมีการจัดอบรมให้ความรู้แก่โรงเรียนใกล้เคียงและพัฒนาต่อไปเพื่อให้ได้ประโยชน์มากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น