วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

e-services

E-service
e-service คือ ระบบบริการประชาชนผ่านอิเล็กทรอนิกส์ online โดยเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนสำหรับบริการด้านต่าง ๆ ของหน่วยงานของรัฐ เป็นการให้บริการได้เบ็ดเสร็จที่จุดเดียว เวลาไหนก็ได้ ที่ไหนก็ได้ โดย user เป็นคนจัดการเองซึ่งจะง่ายและสะดวกแก่การให้บริการลูกค้าหรือสมาชิก ซึ่งระบบนี้ถูกนำมาใช้ในธุรกิจประเภทต่าง ๆ เช่น ระบบการจองตั๋ว ระบบลงทะเบียนต่าง ๆ การเสียภาษี/ค่าธรรมเนียม การจดทะเบียน และการยื่นคำร้อง เป็นต้น

ความสำคัญของ e-service
ปัจจุบัน องค์กรธุรกิจมีความสนใจในการที่จะสร้างเว็บไซต์ (Web Site) เพื่อใช้ในการทำธุรกิจ (E-Business) หรือ ทำการค้า (E-Commerce) รวมไปถึงใช้เป็นเครื่องมือทางการตลาด (E-Marketing) ซึ่งถือว่าเป็นกลยุทธ์ด้านการแข่งขันในการดำเนินธุรกิจขององค์กรโดยมีทั้งที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว เดิมทีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเว็บไซต์คือเป็นสื่อกลาง (Media) เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารขององค์กรไปสู่ลูกค้า หรือเรียกว่า "E-Service" ด้วยประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต
E-SERVICE นั้นสามารถมีอยู่ได้ในทุกองค์กรไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือว่าเอกชน เพราะจะทำให้หน่วยงานเป็นหน่วยงานที่ทันสมัย สามารถติดต่อกับภายนอกได้ ถ้าหน่วยงานไหนไม่ทำหน่วยงานที่มี E-Service หน่วยงานก็ที่ล้าสมัยทันที จะเป็นหน่วยงานที่ถูกทอดทิ้ง เพราะไม่สามารถไปเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นได้
E-SERVICE นั้น อาจมีส่วนที่ย่อยๆๆ ลงไปได้ อาจมีหลายๆองค์ประกอบมารวมกัน อีกทั้งนี้ E-Service ก็ยังสามารถ เป็นองค์ประกอบย่อยของ E-Government หรือ E-University ได้อีกด้วย

เป้าหมาย
e-service เป็นเป้าหมายหลักของทุกประเทศที่มุ่งพัฒนาบริการของภาครัฐให้ประชาชนเข้าถึงได้ โดยผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้เกิดรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์อย่างเป็นรูปธรรม การพัฒนาช่องทางใหม่ ในการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีความแตกต่างกันไปบ้าง แต่ก็มักจะเน้นช่องทางที่ใช้ อินเทอร์เน็ตเป็นตัวกลางในการติดต่อและให้บริการกับประชาชน การให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตสามารถทำได้หลาก หลายรูปแบบและมีความซับซ้อนในระดับที่แตกต่างกันตามเทคโนโลยี และ สถาปัตยกรรมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดช่องทางใหม่ๆ ให้ประชาชนสามารถเลือกใช้เพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา

ข้อดีของ e-service
• ไม่เสียเวลาในการเดินทางไปติดต่อผู้ให้บริการด้วยตนเอง
• ใช้งานง่าย
• สะดวกต่อผู้ใช้บริการ
• มีข้อมูลหลากหลาย

แนวโน้มของ e-service
น่าจะมีการเปิดเว็บอีเซอร์วิสเพิ่มมากขึ้นและมีบริการหลากหลายยิ่งขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

นวัตกรรมการศึกษา

ชื่อนวัตกรรม ท้องฟ้าจำลองและแผนที่ดาว

ชื่อผู้พัฒนานวัตกรรม นางมยุรี ฐานมั่น ตำแหน่งครู

ที่มาและวัตถุประสงค์ของนวัตกรรม
ท้องฟ้าจำลองเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ เป็นนวัตกรรมที่มีลักษณะเป็นห้องเรียนเสมือนจริง โดยศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 และหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ในการกำหนดขอบเขตเนื้อหาที่จะใช้พัฒนานวัตกรรม โดยภายในห้องจะมีแหล่งเรียนรู้ทางดาราศาสตร์มากมาย อาทิเช่น แผนที่ดาว ระบบสุริยะ โปรแกรม Starry night เป็นต้น ซึ่งผู้สอนคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษานี้จะสร้างแนวความคิดใหม่ให้นักเรียนมองและเห็นสภาพความเป็นจริงจากสถานการณ์จำลองเหมือนของจริง โดยไม่ต้องรอเหตุการณ์จริงให้เกิดขึ้น เหมือนกับนักบินที่ฝึกบินกับสถานการณ์จำลอง ท้องฟ้าจำลองก็สามารถสร้างสถานการณ์ต่างๆได้หลายอย่างเช่นการดูดาวหรือศึกษากลุ่มดาวได้ทุกเวลาตามสถานการณ์ที่ผู้สอนสร้างขึ้นทั้งใช้เทคโนโลยีจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือใช้แผนที่ดาวที่สร้างขึ้นเองตามสภาพจริงในการมองเห็นท้องฟ้าจริงทั่วๆไปตามวัน เวลาจริงของดวงดาวบนท้องฟ้า ห้องท้องฟ้าจำลองนี้จะช่วยพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรม
ในการพัฒนานวัตกรรมในครั้งนี้ ผู้จัดทำได้ศึกษากระบวนการพัฒนานวัตกรรมจากเอกสารต่างๆและนำมาสังเคราะห์เป็นขั้นตอนในการพัฒนานวัตกรรม ซึ่งมี 4 ขั้นตอนคือ
1.การสร้างนวัตกรรม
2.การตรวจสอบคุณภาพนวัตกรรม
3.การทดลองใช้
4.การปรับปรุง

ลักษณะของนวัตกรรม
สื่อ/แหล่งเรียนรู้ในห้องท้องฟ้าจำลอง
ผนังห้องด้านหน้า : แหล่งเรียนรู้เรื่องกาลิเลโอ และพระมหากษัตริย์ไทยกับดาราศาสตร์ ผนวกกับฉากรับ การฉายภาพ และไวท์บอร์ดประกอบการบรรยาย
ผนังห้องด้านหลัง : แผนภาพจำลองระบบสุริยะขนาด 3 ม.x6 ม.
เพดานห้อง : แผนที่ดาวจำลองขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เมตร
แผนที่ดาวมือถือ/แผนที่ดาวไฮเทค
กล้องโทรทัศน์
แหล่งเรียนรู้อื่นๆ
- มุมความรู้ทางดาราศาสตร์
- วีซีดี วีดีทัศน์ สารคดี ตลอดจนภาพยนตร์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับดาราศาสตร์และอวกาศ
- คอมพิวเตอร์สืบค้นข้อมูล มีอินเตอร์เน็ต

ผลการนำไปทดลองใช้
การพัฒนานวัตกรรมได้ดำเนินการเสร็จสิ้น มีการเผยแพร่และสร้างเครือข่าย นวัตกรรมทางการศึกษาห้องท้องฟ้าจำลอง เป็นนวัตกรรมที่ได้รับความสนใจของประชาชน นักเรียน และฝ่ายต่างๆในชุมชนเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งผู้สอนได้จัดให้มีการเผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมในครั้งนี้ให้กับผู้ที่สนใจเพื่อเป็นแนวทางให้นำไปพัฒนานวัตกรรมอื่นๆต่อไป

ข้อดีของนวัตกรรม
1.เป็นการแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียนได้ตรงตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
2.มีการประยุกต์ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในการพัฒนานวัตกรรมได้เหมาะสม คุ้มค่า
3.กระบวนการพัฒนานวัตกรรมก่อให้เกิดประสบการณ์และการเรียนรู้ร่วมกันทั้งโรงเรียน
4.เป็นนวัตกรรมที่ใช้ง่าย สะดวกและมีขั้นตอนการใช้ไม่ซับซ้อน

ข้อจำกัดของนวัตกรรม
1.ใช้งบประมาณจำนวนมาก
2.ขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ

ข้อเสนอแนะ
ควรมีการจัดอบรมให้ความรู้แก่โรงเรียนใกล้เคียงและพัฒนาต่อไปเพื่อให้ได้ประโยชน์มากขึ้น